เมนู

อรรถกาอุทธังโสโตอกนิฏฐคามีบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่งพระอนาคามี ผู้ชื่อว่า อุทธังโสโตบุคคล.
ตณฺทาโสตํ กระแส คือ ตัณหา หรือวฏฺฏโสตํ กระแส คือ วัฏฏะ
ของพระอนาคามีนั้นมีอยู่ในเบื้องบน เพราะเป็นธรรมชาตินำไปในเบื้องบน
ฉะนั้นท่านจึงชื่อว่า อุทฺธํโสโต แปลว่า ผู้มีกระแส คือ ตัณหา หรือวัฏฏะใน
เบื้องบน. อีกอย่างหนึ่ง มคฺคโสตํ กระแส คือ มรรคของพระอนาคามีนั้น
มีอยู่ในเบื้องบน เพราะท่านไปสู่ภพเบื้องบนแล้วจึงได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึง
ชื่อว่า อุทฺธํโสโต แปลว่า ผู้มีกระแส คือ มรรคในเบื้องบน. สองบทว่า
" อกนิฏฐํ คจฺฉติ " ได้แก่ ผู้มีปกติไปสู่ อกนิฏฐภพ.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า "อวิหาโต จุโต อตปฺปํ คจฺฉติ" เป็นต้น
ดังนี้ว่า พระอนาคามีเมื่ออยู่ในอวิหาภูมิตลอด 1,000 มหากัป ไม่อาจบรรลุ
อรหัต จึงไปสู่สุทัสสีภูมิ. เมื่อท่านแม้อยู่ในสุทัสสีภูมิตลอด 8,000 มหากัป
ก็ไม่อาจบรรลุพระอรหัต ย่อมไปสู่อกนิฏฐภูมิ. อธิบายว่า เมื่อท่านอยู่ใน
อกนิฏฐภูมินั้น ย่อมให้อริยมรรคเกิดได้.
อนึ่ง เพื่อต้องการทราบประเภทของพระอนาคามีเหล่านี้ นักศึกษา
พึงทราบหมวด 4 แห่งพระอนาคามี ผู้ชื่อว่า อุทฺธํโสโตอกนิฏฺฐคามี.
บรรดาพระอนาคามีเหล่านั้นองค์ใดชำระเทวโลกทั้ง 4 ให้สะอาด
จำเดิมแต่อวิหาภูมิ และไปสู่อกนิฏฐภูมิจึงปรินิพพาน องค์นี้ชื่อว่า อุทฺธํโสโต-
อกนิฏฺฐคามี.

ก็องค์ใด ชำระเทวโลกทั้ง 3 เบื้องต่ำให้สะอาด แล้วดำรงอยู่ใน
สุทัสสีเทวโลก จึงปรินิพพาน องค์นี้ชื่อว่า อุทฺธํโสโต น อกนิฏฺฐคามี
แปลว่า ผู้มีกระแสในเบื้องบน แต่ไม่ไปสู่อกนิฏฐภูมิ.

องค์ใดไปสู่อกนิฏฐภูมินั่นแหละ จากสุทัสสีเทวโลกนี้แล้ว จึงปรินิพพาน
องค์นี้ชื่อว่า นอุทฺธํโสโตอกนิฏฺฐคามี ซึ่งแปลว่า ผู้ไม่มีกระแสใน
เบื้องบน แต่ไปสู่อกนิฏฐภูมิ.
ก็องค์ใดดำรงอยู่ ในเทวโลกทั้ง 4 เบื้องต่ำย่อมปรินิพพานในที่นั้น ๆ
นั่นแหละ องค์นี้ชื่อว่า นอุทฺธํโสโต นอกนิฏฺฐคามี แปลว่า ผู้ไม่มีกระแส
ในเบื้องบนและไม่ไปสู่อกนิฏฐภูมิ.
เพราะฉะนั้นเมื่อรวมพระอนาคามีเหล่านั้น จึงมี 48 จำพวก ด้วย
ประการฉะนี้.
ถามว่า พระอนาคามี มี 48 จำพวก เป็นไฉน ?
ตอบว่า ในอวิหาภูมิก่อน พระอนาคามีผู้เป็นอันตรายปรินิพพายี 3
จำพวก ผู้เป็นอุปหัจจปรินิพพายี 1 จำพวก ผู้เป็นอุทธังโสโต 1 จำพวก, พระ-
อนาคามีเหล่านั้นรวมเป็น 10 จำพวก คือ เป็นอสังขารปรินิพพายี 5 จำพวก
เป็นสสังขารปรินิพพายี 5 จำพวก, ในอตัปปา สุทัสสา และสุทัสสีภูมิ ก็
เหมือนกัน คือ มี 8 ภูมิ ๆ ละ 10 จำพวก รวมเป็น 40 จำพวก, แต่พระ
อนาคามีผู้ชื่อว่า อุทธังโสโต ไม่มีในชั้นอกนิฏฐภูมิ มีแต่พระอนาคามีผู้ชื่อว่า
อันตรายปรินิพพายี 3 จำพวก อุปหัจจปรินิพพายี 1 จำพวก พระอนาคามี
เหล่านั้นเป็น 8 จำพวก คือ เป็นอสังขารปรินิพพายี 4 จำพวก เป็นสสังขาร.
ปรินิพพายี 4 จำพวก จึงรวมเป็นพระอนาคามี 48 จำพวก ด้วยประการ
ฉะนี้. พระอนาคามีเหล่านั้นทั้งปวง อันบัณฑิตแสดงเปรียบเทียบแล้วด้วย
ประกายไฟที่เกิดจากเหล็ก ดังอุทาหรณ์ต่อไปนี้.
เหมือนอย่างว่า เมื่อช่างเหล็กตีอยู่ซึ่งปลายเหล็กแหลม ของมีดพับและ
มีดตัดเล็บที่ร้อนตลอดวันที่แท่งเหล็ก ประกายไฟเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ฉันใด

พระอนาคามีที่เห็นปานนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่า อันตราปรินิพพายี พวกที่
1 ฉันนั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะกิเลสดับไปไม่เหลือ ใน
ลำดับที่เกิดขึ้นนั้นแหละ.
เมื่อช่างเหล็กตีอยู่ซึ่งปลายเหล็กแหลมเป็นต้นที่ร้อนตลอดวัน อันใหญ่
กว่านั้น ที่แท่งเหล็ก ประกายไฟก็พุ่งขึ้นสู่อากาศแล้วก็ดับไป ฉันใด พระ-
อนาคามีที่เห็นปานนี้พึงทราบว่าชื่อว่า อันตรายปรินิพพายี พวกที่ 2 ฉันนั้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะท่านมีอายุยังไม่ถึงท่ามกลางก็
ปรินิพพาน.
เมื่อช่างเหล็กตีอยู่ซึ่งปลายเหล็กแหลมเป็นต้นที่ร้อนตลอดวัน อันใหญ่
กว่านั้น (หมายถึงใหญ่ขึ้นไปตามลำดับ) ที่แท่งเหล็ก ประกายไฟพุ่งขึ้นสู่
อากาศแล้ววกกลับลงมาสู่พื้นดินแต่ยังมิทันกระทบก็ดับไป ฉันใด พระอนาคามี
ที่เห็นปานนี้พึงทราบว่า ชื่อว่า อันตราปรินิพพายี พวกที่ 3 ฉันนั้น. ถามว่า
เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะถึงท่ามกลางแห่งอายุแล้ว ยังไม่ใกล้จะทำ
กาลกิริยา ก็ปรินิพพาน.
เมื่อช่างเหล็กตีอยู่ซึ่งปลายเหล็กแหลมเป็นต้นที่ร้อนตลอดวัน อันใหญ่
กว่านั้นที่แท่งเหล็ก ประกายไฟพุ่งขึ้นสู่อากาศแล้วตกลงยังพื้นดินแต่พอกระทบ
กับพื้นดินแล้วก็ดับไป ฉันใด พระอนาคามีเห็นปานนี้พึงทราบว่าชื่อว่า อุปหัจจ-
ปรินิพพายี ฉันนั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะเข้าใกล้การ
กระทำกาลกิริยาแล้ว ได้ยังความเป็นไปแห่งอายุให้สิ้นไปแล้ว จึงปรินิพพาน.
เมื่อช่างเหล็กตีอยู่ซึ่งปลายเหล็ก แหลมเป็นต้น ที่ร้อนตลอดวัน อัน
ใหญ่กว่านั้นที่แท่งเหล็ก สะเก็ดไฟกระเด็นตกไปที่หญ้า หรือที่ไม้เล็กน้อยแล้ว
ก็เผาหญ้าหรือไม้เล็กน้อยแล้วก็ดับไป ฉันใด พระอนาคามีที่เห็นปานนี้พึงทราบ

ว่าชื่อว่า อสังขารปรินิพพายี ฉันนั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะ
ปรินิพพาน ด้วยการประกอบความเพียรมีประมาณเล็กน้อย คือ ด้วยการดำเนิน
ไปอย่างสบาย.
เมื่อช่างเหล็กตีอยู่ซึ่งเหล็กแหลมเป็นต้นที่ร้อนตลอดวัน อันใหญ่กว่า
นั้น ที่แท่งเหล็ก สะเก็ดไฟก็กระเด็นตกไปที่กองไม้ หรือหญ้ากองใหญ่แล้ว
ไหม้กองไม้ หรือหญ้ากองใหญ่นั้นหมดแล้ว จึงดับไป ฉันใด พระอนาคามี
ผู้เห็นปานนี้พึงทราบว่า ชื่อว่า สสังขารปรินิพพายี ฉันนั้น. ถามว่า เพราะ
เหตุไร ? ตอบว่า เพราะปรินิพพานด้วยการทำความเพียรอย่างแรงกล้า คือ
ดำเนินไปอย่างหนักแน่น.
สะเก็ดไฟอื่นอีก ย่อมตกไปที่กองไม้ และกองหญ้าอันใหญ่นั้น ครั้น
เมื่อกองไม้หรือกองหญ้าอัน ใหญ่นั้นถูกไพ่ไหม้อยู่ ถ่านที่ปราศจากเปลวไฟก็ดี
เปลวไฟก็ดี เกิดขึ้นแล้วก็เผาไหม้โรงของนายช่างเหล็ก แล้วก็ลามไปไหม้บ้าน
หมู่บ้าน เมือง และแว่นแคว้น จดฝั่งสมุทรจึงดับไป ฉันใด พระอนาคามี
ผู้เห็นปานนี้พึงทราบว่า ชื่อว่า อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ฉันนั้น. ถามว่า
เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะท่านกระทำการแผ่ขยายพืชในภพเป็นอเนก
แล้วจึงกระทำให้สิ้นสุดลงด้วยการบรรลุธรรมที่ถูกต้องแล้วจึงปรินิพพาน. ก็
แผ่นเหล็กนั่นแหละมีเล็กบ้างใหญ่บ้าง อันต่างด้วยปลายเหล็กแหลมเป็นต้น
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในพระสูตร ในวาระทั้งหมดว่า "อโยกปลฺลํ"
แผ่นเหล็ก ดังนี้.
เหมือนอย่างคำที่พระองค์ตรัสไว้ว่า "ก็ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระ-
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล้ว ย่อมได้เฉพาะซึ่งอุเบกขา คือ ความวางเฉย
ว่า อุเบกขาไม่พึงมี และจะไม่พึงมีแก่เรา ไม่ได้มีแล้วและจักไม่มีแก่เรา สิ่งใด

มีอยู่ เราย่อมละสิ่งนั้น เธอนั้นย่อมไม่ยินดีในภพ ย่อมไม่ยินดีในการเกิด ลำดับ
นั้น เธอย่อมเห็นบทอันยิ่งอันสงบแล้ว ด้วยสัมมัปปัญญา (ปัญญาอันชอบ)
ก็บทนั้นนั่นแล อันเธอกระทำให้แจ้งแล้วซึ่งสิ่งทั้งปวงโดยประการทั้งปวง แต่
เธอยังละมานานุสัยทั้งปวงไม่ได้โดยประการทั้งปวง ยังละภวราคานุสัยทั้งปวง
โดยประการทั้งปวงไม่ได้ ยังละอวิชชานุสัยทั้งปวงโดยประการทั้งปวงไม่ได้ เธอ
นั้นชื่อว่า อันตราปรินิพพายี เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์
ทั้ง 5 แล้วตรัสว่า คูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อบุคคลทุบอยู่
ซึ่งแผ่นเหล็กอันร้อนตลอดวัน ประกายไฟเกิดขึ้นแล้วก็พึงดับไป แม้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าอันตรา-
ปรินิพพายี
ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ฯลฯ
ชื่อว่า อันตราปรินิพพายี ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อบุคคลทุบอยู่ซึ่ง
แผ่นเหล็กอันร้อนตลอดทั้งวัน ประกายไฟเกิดแล้ว บังเกิดแล้ว ก็พึงดับไป
แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า
อันตราปรินิพพายี ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า อันตรายปรินิพพายี ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลทุบ
อยู่ซึ่งแผ่นเหล็กทั้งหลายที่ร้อนตลอดทั้งวัน สะเก็ดไฟบังเกิดแล้ว ยังไม่ทัน
กระทบพื้นดินก็พึงดับไปแม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้
ย่อมชื่อว่า อันตราปรินิพพายี ฉันนั้นนั่นเทียว.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้
ย่อมชื่อว่าอุปหัจจปรินิพพายี ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อบุคคลทุบอยู่

ซึ่งแผ่นเหล็กที่ร้อนตลอดทั้งวัน สะเก็ดไฟบังเกิดแล้ว เกิดขึ้นแล้วกระทบกับ
พื้นดินแล้วพึงดับไปฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
ย่อมชื่อว่า อุปหัจจปรินิพพายี.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
ย่อมชื่อว่า อสังขารปรินิพพายี เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์
ทั้ง 5 ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลทุบอยู่ซึ่งแผ่นเหล็กที่ร้อนตลอดวัน
สะเก็ดไฟบังเกิดแล้ว เกิดขึ้นแล้วพึงกระเด็นไปตกอยู่ที่กองหญ้า หรือกองไม้
เล็กน้อย สะเก็ดไฟนั้นพึงให้ไฟเกิดบ้างให้ควันเกิดบ้างในที่นั้น ครั้นให้ไฟ
เกิดแล้วก็ดี ให้ควันเกิดแล้วก็ดี แล้วก็ไหม้กองไม้กองหญ้าเล็กน้อยนั้นนั่น
แหละจนหมดสิ้นแล้วพึงดับไปเองเพราะสิ้นเชื้อ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
เป็นผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมชื่อว่า อสังขารปรินิพพายี เพราะความ
สิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง 5 ฉันนั้นเหมือนกัน.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้
ย่อมชื่อว่าสังขารปรินิพพายี ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อบุคคลทุบแผ่น
เหล็กที่ร้อนตลอดวัน ประกายสะเก็ดไฟบังเกิดแล้ว เกิดขึ้นแล้ว พึงตกไปที่
กองหญ้าและกองไม้อันไพบูลย์แล้วพึงให้ไฟเกิดขึ้นบ้าง ให้ควันเกิดขึ้นบ้าง ฯลฯ
แล้วก็ไหม้กองหญ้าและกองไม้อันไพบูลย์นั้นนั่นแหละจนสิ้นแล้วก็พึงดับไป
เพราะสิ้นเชื้อ ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ชื่อว่า
สสังขารปรินิพพายี.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัม-
ภาคิยสังโยชน์ทั้ง 5 ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อบุคคลทุบอยู่ซึ่งแผ่นเหล็ก
อันร้อนตลอดวัน ประกายสะเก็ดไฟบังเกิดแล้ว เกิดขึ้นแล้ว พึงตกไปที่

กองหญ้า หรือกองไม่อันใหญ่แล้ว พึงให้ไฟเกิดบ้างให้ควันเกิดบ้าง ฯลฯ แล้ว
ก็ไหม้กองหญ้า กองไม้อันใหญ่นั้นนั่นแหละ และพึงลามไปไหม้กอไม้บ้าง
ป่าไม้บ้าง ครั้นไหม้แล้วก็มาสู่ภาคพื้นอันเป็นพืชสด หรือถึงหนทาง หรือ
ถึงศิลา หรือถึงน้ำ หรือถึงสถานอันเป็นที่รื่นรมย์แล้วก็ดับไป เพราะขาดเชื้อ
ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติอยู่ อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า
อุทธัง โสโตอกนิฏฐคามี ฉันนั้นเหมือนกัน.
นิเทศแห่งพระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติในการกระทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง
เป็นต้นมีเนื้อความตื้นเทียว.
คำว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ท่านเรียกว่า
พระอรหันต์. ก็คำว่า พระอรหันต์ในที่นี้ พึงทราบว่ามี 12 จำพวก.
ถามว่า มี 2 จำพวก อย่างไร.
ตอบว่า ก็วิโมกข์มีอยู่ 3 อย่าง คือ สุญญตวิโมกข์ 1 อนิมิตตวิโมกข์
1 อัปปณิหิตวิโมกข์ 1 บรรดาวิโมกข์เหล่านั้น พระขีณาสพผู้หลุดพ้นด้วย
สุญญตวิโมกข์มี 4 จำพวก ด้วยอำนาจปฏิปทา 4 อย่าง และพระขีณาสพผู้หลุด
พ้น ด้วยอนิมิตตวิโมกข์หรืออัปปณิหิตวิโมกข์ ก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น
บัณฑิตพึงทราบว่า พระอรหันต์จึงมี 12 จำพวก ด้วยประการฉะนี้.
ก็บุคคลเหล่านี้ มีประมาณเท่านี้คือ คือ พระสกทาคามี 12 จำพวก
ซึ่งเหมือนพระอรหันต์ 12 จำพวก พระโสดาบัน 24 จำพวก คือ พระโสดา-
บัน 12 จำพวก คูณด้วยธุระ 2 คือ สัทธาธุระ 1 ปัญญาธุระ 1 และพระ-
อนาคามี 48 จำพวก ทั้งหมดเหล่านี้ เมื่อท่านพ้นจากโลกนี้แล้ว ย่อมไม่
เกิดในลัทธิภายนอกพระศาสนา ย่อมเกิดขึ้นในพระศาสนาแห่งพระสัพพัญญู-
พุทธเจ้านั่นเทียว ดังนี้แล.
จบอรรถกถาเอกกนิทเทส ว่าด้วยบุคคล 1 จำพวกแต่เพียงนี้

ทุกนิทเทส


อธิบายบุคคล 2 จำพวก


[58] 1. โกธนบุคคล บุคคลผู้มักโกรธ เป็นไฉน ?
ความโกรธ ในข้อนั้น เป็นไฉน ? ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะ
ที่โกรธ โทสะ ความประทุษร้าย ภาวะที่ประทุษร้าย ความพยาบาท กิริยาที่
พยาบาท ภาวะที่พยาบาท ความพิโรธตอบ ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด
ภาวะที่จิตไม่ยินดีอันใด นี้เรียกว่า ความโกรธ ความโกรธนี้ อันบุคคลใด
ละไม่ได้ บุคคลนั้น เรียกว่า ผู้มักโกรธ.
2. อุปนาหีบุคคล บุคคลผู้ผูกโกรธ เป็นไฉน ?
ความผูกโกรธ ในข้อนั้น เป็นไฉน ? ความโกรธมีในเบื้องบน
ความผูกโกรธมีในภายหลัง ความผูกโกรธ กิริยาที่ผูกโกรธ ภาวะที่ผูกโกรธ
การไม่หยุดโกรธ การตั้งความโกรธไว้ การดำรงความโกรธไว้ การทำความ
โกรธให้มั่นเข้า อันใด เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความผูกโกรธ ความผูกโกรธ
นี้ อันบุคคลใดละไม่ได้ บุคคลนั้น เรียกว่า ผู้ผูกโกรธ.

อรรถกถาทุกนิทเทส


อธิบายบุคคล 2 จำพวก


อรรถกถาบุคคลผู้มักโกรธเป็นต้น


บุคคลผู้มีการโกรธเป็นปกติ คือ ผู้โกรธมาก ชื่อว่า ผู้มักโกรธ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ตรัสถามบุคคลอย่างนี้แล้ว เพื่อจะทรงแสดงบุคคล